เมนู

บอกกับนายช่างหม้อว่า "ทราบว่า เมื่อวานนี้ คุณพ่อผม สั่งให้ท่าน
ทำการงานไว้อย่างหนึ่ง, ท่านจงยังการงานนั้นให้สำเร็จ" ดังนี้แล้ว
ส่งเขาไปแล้ว. ลูกชายของเศรษฐีนั้น ไปยังสำนักของนายช่างหม้อนั้น
ได้กล่าวตามสั่งนั้น. ครั้งนั้น นายช่างหม้อ ได้ฆ่าลูกชายเศรษฐีนั้น
ตามคำสั่งเศรษฐีสั่งไว้ทีเดียว แล้วโยนไปในเตา.
ฝ่ายนายโฆสกะ เล่นตลอดภาคของวัน พอตกเย็นก็กลับบ้าน,
เมื่อเศรษฐีเห็นแล้ว จึงถามว่า "ไม่ได้ไปหรือ ? พ่อ" ก็แจ้งถึงเหตุที่
ตนไม่ไปและเหตุที่น้องชายไปให้ทราบ. เศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว จึงร้อง
ลั่นว่า "อย่าได้ฆ่าเลย" ปานประหนึ่งว่า มีโลหิตเดือดพล่านในสรีระ
ทั้งสิ้น ประคองแขนคร่ำครวญอยู่ว่า "ช่างหม้อผู้เจริญ อย่าให้เราฉิบหาย
เสียเลย อย่าให้เราฉิบหายเสียเลย" ดังนี้ ได้ไปยังสำนักของนายช่าง
หม้อนั้นแล้ว.
นายช่างหม้อ เห็นเศรษฐีนั้น มาอยู่โดยอาการอย่างนั้น จึงพูดว่า
"นาย ท่านอย่าทำเสียงดังไป, การงานของท่านสำเร็จแล้ว." เศรษฐีนั้น
อันความโศกเปรียบดังภูเขาใหญ่ท่วมทับแล้ว เสวยโทมนัส มีประมาณ
มิใช่น้อย ดังบุคคลผู้มีใจคิดร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายฉะนั้น.

ทำร้ายผู้ไม่ทำร้ายตอบย่อมถึงฐานะ 10


เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
" ผู้ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้าย หา
อาชญามิได้ ด้วยอาชญา ย่อมพลันถึงฐานะ 10

อย่างใดอย่างหนึ่งทีเดียว คือ พึงถึงเวทนาอันหยาบ,
ความเสื่อม, ความแตกแห่งสรีระ, ความเจ็บไข้
อย่างหนัก, ความฟุ้งซ่านแห่งจิต, ความขัดข้องแต่
พระราชา, ความกล่าวตู่อย่างทารุณ, ความเสื่อม
รอบแห่งหมู่ญาติ, ความย่อยยับแห่งโภคะ, อีก
ประการหนึ่ง ไฟป่าย่อมไหม้เรือนของผู้นั้น, เพราะ
ความแตกแห่งกาย เขาผู้มีปัญญาทราม ย่อมเข้า
ถึงนรก."


อุบายใหม่ของเศรษฐี


แม้เช่นนั้น เศรษฐีก็ไม่อาจแลดูนายโฆสกะนั้นตรง ๆ อีกได้
ครุ่นคิดหาอุบายว่า " อย่างไร ? จึงจะฆ่ามันเสียได้." มองเห็นอุบายว่า
"เราจักส่งมันไปยังสำนักของคนเก็บส่วย ( นายเสมียน) ใน 100
บ้านของเรา ให้มันตายเสีย" ดังนี้แล้ว จึงเขียนหนังสือไปถึงคนเก็บ
ส่วยนั้นว่า " ผู้นี้เป็นลูกชาติชั่วของเรา, ฆ่ามันเสียแล้ว จงโยนลงไปใน
หลุมคูถ. เมื่อทำการอย่างนี้เสร็จแล้ว, ฉันจักรู้สิ่งที่จะตอบแทนแก่ท่าน
ลุงในภายหลัง" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า "พ่อโฆสกะ คนเก็บส่วยของฉัน
มีอยู่ที่บ้านส่วย 100 บ้าน, เจ้าจงนำเอาจดหมายฉบับนี้ไปให้เขา" ดังนี้
จึงเอาจดหมายผูกไว้ที่ชายผ้าของเขา.
ก็นายโฆสกะนั้น ไม่รู้จักอักษรสมัย, เพราะตั้งแต่เขาเป็นเด็ก
เศรษฐีก็ครุ่นคิดฆ่าเขาเสมอ (แต่) ไม่อาจฆ่าได้, จักให้เขาศึกษา
อักษรสมัยได้อย่างไร ? นายโฆสกะนั้น ผูกจดหมายฆ่าตัวเองไว้ที่ชายผ้า